เส้นทางสายเซรั่ม


ดร. จักรกฤษณ์ กำทองดี เดิมทีเป็นนักวิจัยที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) มีหน้าที่แก้ปัญหาตามที่ได้รับมอบหมาย เมื่อพบว่ารุ่นพี่ป่วยเป็นโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน จึงอาสาหาวิธีการบรรเทา โดยศึกษาบทความจากต่างประเทศและการรักษาของไทย พบว่า ทางยุโรปใช้สารจำพวก Zinc Oxcide (ZnO) และ Titanium dioxcide (TiO2) เป็นส่วนผสมของครีมกันแดด ถูกนำมาใช้สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และบรรเทาอาการคัน ขณะเดียวกันภูมิปัญญาไทยได้มีการนำขมิ้นชันมาใช้รักษาและบรรเทาการอักเสบ และใช้น้ำมันงาขี้ม่อนให้ความชุ่มชื้นของผิวหนัง เมื่อนำสององค์ความรู้มารวมกัน โดยใช้เทคนิค Compound complex based on molecular dynamic inspection ซึ่งเป็นการสั่นด้วยความถี่ที่เหมาะสมในการจัดเรียงโครงสร้างของสารทั้งหมดให้อยู่ในก้อนเดียวกัน แล้วนำโครงสร้างทั้งหมดเข้าไปเก็บไว้ในลูกบอล Hyaluronic acid เบื้องต้น ผู้ป่วยผิวหนังแทบจะหายคันทันทีเมื่อทาเซรั่ม และยังพบว่าแผลที่เกิดขึ้นค่อยหายไป และจุดดำบนผิวหนังจางลงอย่างเห็นได้ชัด







เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยหลายคนอาการดีขึ้นมาก ยิ่งไปกว่านั้น ผิวหน้าดูขาวใส เรียบเนียน อ่อนวัยลงชัดเจน และมีคำพูดหนึ่งจากคนป่วยว่า “ทำไมด๊อกเตอร์ไม่ทำเป็นเครื่องสำอาง” นั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของเซรั่มปิ่นปัก ที่พัฒนามาจากเซรั่มบรรเทาอาการผิวหนัง เมื่อนำมาใช้กับผิวหน้า เซรั่มถูกออกแบบให้แสดงผลทันที่เมื่อใช้ เมื่อลูบเซรั่มลงบนผิวหน้า จะพบว่าเซรั่มซึมลงผิวอย่างรวดเร็ว พร้อมกับความชุ่มชื่น และไม่เหนียวเหนอะหนะ ที่สำคัญคือไม่แพ้ หรือมีโอกาสน้อยมากที่จะแพ้ หากใช้ประจำใน 1 ถึง 3 วันแรก จะพบว่าผิวหน้าเรียบเนียนและนุ่มขึ้น ริ้วรอยค่อยๆ จางลง ยิ่งไปกว่านี้ ในกรณีที่ผิวหน้ามีการอักเสบของสิว หรือหัวสิว ด้วยฤทธิ์ของขมิ้นชัน จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และทำให้สิวยุบลงไป นอกจากนี้ เซรั่มยังช่วยผลัดเซลล์ผิว ส่งผลให้รอยดำหลุดออกด้วย สำหรับฝ้าและกระ ต้องใช้เวลาให้ Alpha arbutin ออกฤทธิ์ ในบางกรณี ใช้เวลาเพียง 15 วัน ฝ้าก็จางลง แต่ในบางกรณีใช้เวลา 60 วัน ถึงจะเริ่มเห็นผลในเรื่องของฝ้าและกระ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพผิวหน้าของแต่ละคน 


เซรั่มปิ่นปักเป็นผลจากการประยุกต์เทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสมุนไพร ช่วยแก้ปัญหา ริ้วรอย จุดด่างดำ สิว ฝ้า และเพิ่มความชุ่มชื้นบนใบหน้า

เซรั่มนี้เพิ่มมูลค่าให้กับขมิ้นชันและงาขี้ม้อน และเป็นการทำให้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สามารถจับต้องได้ 

This cover has been designed using resources from Canva.com, Freepik.com, and Adobe firefly.com